ปก
วันอังคารที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2557
IS การสำรวจความพึงพอใจในการเรียนวิชาต่างๆของนักเรียนห้องเรียนพิเศษ (Gifted)
โครงการศึกษารายบุคคล
เรื่อง การสำรวจความพึงพอใจในการเรียนวิชาต่างๆของนักเรียนห้องเรียนพิเศษ (Gifted) The satisfaction in learning various subjects. Special classes of students (Gifted).
ผู้วิจัย
ด.ญ.เพ็ญพิชชา วิศาลสมพงษ์ ชั้น ม.3/1 เลขที่ 33
อาจารย์ที่ปรึกษา
อาจารย์ เอกชัย ณ ประสิทธิ์ อาจารย์ ณิชาภา ดอนกันหา
โรงเรียนวัดราชโอรส สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ IS2 รหัสวิชา I20202 ปีการศึกษา 2557
คำนำ
โครงงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา IS2 (I20202) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยมีจุดประสงค์เพื่อศึกษา และเปรียบเทียบว่าในรายวิชานั้นๆมีนักเรียนชื่นชอบกี่คน ศึกษารายวิชานั้นๆว่าเกี่ยวกับอะไร สำคัญอย่างไร ศึกษาการรับประทานอาหารที่บำรุงสมอง และศึกษากิจกรรมที่บำรุงสมอง ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญในการเลือกเรียนสายวิชาที่ตนถนัดและอยากเรียนมากที่สุด เพื่อเป็นรากฐานในการศึกษาต่อในมัธยมศึกษาปีที่ 4 และในมหาวิทยาลัย นอกจากความพึงพอใจแล้วเราจำเป็นที่จะต้องดูความสามารถที่มีต่อวิชานั้นๆด้วยว่าเราสามารถ ที่จะปฎิบัติตามได้หรือไม่ มีพื้นฐานในรายวิชาที่เรียนอย่างไร
ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงงานชุดนี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ที่สนใจในการเรียนต่อในมัธยมศึกษาปีที่ 4 หรือในมหาวิทยาลัย ซึ่งจะได้นำความรู้หรือข้อมูลที่ได้จากโครงงานชุดนี้ไปเพิ่มพูน และเสริมความรู้ได้เป็นอย่างดี
กิตติกรรมประกาศ
โครงงานนี้สำเร็จลุล่วงได้ด้วยความกรุณาของอาจารย์ประจำวิชาโครงงานที่ให้คำแนะนำแนวคิดจนโครงงานเล่มนี้เสร็จสมบูรณ์ จึงขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูง ขอกราบขอบพระคุณ คุณพ่อคุณแม่ที่ให้คำปรึกษาในเรื่องต่างๆ เสมอมาสุดท้ายขอขอบคุณเพื่อนๆที่ให้กำลังใจทำโครงงานจนเสร็จสมบูรณ์หากรายงานฉบับนี้มีความผิดผลาดประการใดต้องอภัยมา ณ ที่นี้
บทคัดย่อ
ชื่อรายงานวิจัย : การสำรวจความพึงพอใจในการเรียนวิชาต่างๆของนักเรียนห้องเรียนพิเศษ (Gifted)
ชื่อผู้วิจัย : เพ็ญพิชชา วิศาลสมพงษ์
ปีที่ทำการวิจัย : 2557
ในการศึกษาต่อในมัธยมศึกษาปีที่ 4 และในมหาวิทยาลัยนั้นเราจำเป็นที่จะต้องรู้ว่าตัวเราอยากจะเรียนอะไร นอกจากความพึงพอใจแล้วเราจำเป็นที่จะต้องดูความสามารถที่มีต่อวิชานั้นๆด้วยว่าเราสามารถที่จะปฎิบัติตามได้หรือไม่ ฉะนั้นเมือเราเลือกได้แล้ว เราจะต้องพัฒนาตนให้ดีขึ้นด้วยวิธีต่างๆ
ดิฉันจึงมีความสนใจที่จะศึกษาเกี่ยวกับความพึงพอใจในการเรียนวิชาต่างๆของนักเรียนโดยเฉพาะห้องเรียนพิเศษ ว่าแต่ละบุคคลมีความสนใจในวิชาไหนเป็นพิเศษ และจะได้พัฒนาสมองได้ถูกวิธี
บทที่ 1
บทนำ
ที่มาและความสำคัญ
ในการเรียนของนักเรียนส่วนมาก มักจะชอบวิชาที่ตนเองถนัด หรือมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องๆนั้นอยู่แล้ว ซึ่งความถนัดของแต่ละคนแตกต่างกันไป บางคนชอบใช้สมองคิด หรือ คำนวณ บางคนชอบทดลอง หรือ บางคนชอบวาดรูป ซึ่งในการเรียนวิชาที่ชอบนั้นจะทำให้ผู้เรียนมีความสุข และอยากเรียนมากยิ่งขึ้น
การจัดทำโครงงานนี้เพื่อสำรวจความพึงพอใจในการเรียนวิชาต่างๆของนักเรียนห้องเรียนพิเศษ(Gifted) นับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญในการเลือกเรียนสายวิชาที่ตนถนัดและอยากเรียนมากที่สุด เพื่อเป็นรากฐานในการศึกษาต่อในมัธยมศึกษาปีที่ 4 และในมหาวิทยาลัย นอกจากความพึงพอใจแล้วเราจำเป็นที่จะต้องดูความสามารถที่มีต่อวิชานั้นๆด้วยว่าเราสามารถที่จะปฎิบัติตามได้หรือไม่ มีพื้นฐานในรายวิชาที่เรียนอย่างไร ซึ่งปัจจุบันมีการทดสอบสมรรถภาพของผู้เรียน ว่าเราจัดอยู่ในเกณฑ์ใด ระดับไหน เราจะสามารถต่อยอดได้หรือไม่ ซึ่งจะมีวิธีปรับปรุงเพิ่มสมรรถภาพทางสมองอย่างไร อาจจะเป็นอาหารที่เรารับประทาน รวมถึงกิจกรรมต่างๆนั้นช่วยกระตุ้นสมองได้จริงหรือไม่ อย่างไร การที่เด็กไทยอ่านหนังสือน้อยจะเป็นปัญหาใหญ่ เพราะไม่รู้ว่าตนเองชอบ และถนัดวิชาไหน ซึ่งอยากจะเรียนไปให้จบๆ แล้วก็เลือกไม่ถูกว่าจะต่อคณะไหนอย่างไร และไม่มีเป้าหมายในอนาคต รวมถึงเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทในสังคมไทย ทำให้เด็กไทยสนใจในเทคโนโลยีสมัยใหม่มากขึ้น ไม่ตั้งใจเรียน ซึ่งหากไม่ได้รับการส่งเสริมจากครอบครัว ซึ่งเป็นหน่วยพื้นฐานสำคัญ ก็อาจจะทำให้ เด็กรุ่นใหม่โตขึ้นมา โดยอาศัยแต่เพียงการดู การฟัง การเล่น เพียงอย่างเดียว และจะไม่มีเป้าหมายในการเรียนต่อไปในอนาคต
ผู้ทำวิจัยเกิดความสงสัยและต้องการที่จะสำรวจเกี่ยวกับ ความพึงพอใจในการเรียนวิชาต่างๆของนักเรียนห้องเรียนพิเศษ ว่าชอบวิชาอะไร เพื่อเป็นแนวทางการศึกษาต่อมัธยมศึกษาปีที่4 และจะเพิ่มประสิทธิภาพอย่างไรให้สมองจดจำดีขึ้น และจะนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน รวมทั้งให้ความรู้กับผู้คน
ที่สนใจ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษารายวิชาที่นักเรียนแต่ละคนในห้องเรียนพิเศษชื่นชอบ
2. เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบว่าในรายวิชานั้นๆมีนักเรียนชื่นชอบกี่คน
3. เพื่อศึกษารายวิชานั้นๆว่าเกี่ยวกับอะไร สำคัญอย่างไร
4. เพื่อศึกษาการรับประทานอาหารที่บำรุงสมอง
5. เพื่อศึกษากิจกรรมที่บำรุงสมอง
สมมติฐาน
1. นักเรียนแต่ละคนชื่นชอบวิชาต่างๆไม่เหมือนกัน
2. เราสามารถพัฒนาสมองโดยการทานอาหาร และ การทำกิจกรรมต่างๆได้
ขอบเขตการศึกษา
ในการวิจัยครั้งนี้ได้กำหนดขอบเขตประชากร และกลุ่มตัวอย่างของการวิจัย ดังนี้
1. การวิจัยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการเรียนวิชาต่างๆของนักเรียนห้องเรียนพิเศษ (Gifted)
2. ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนห้องเรียนพิเศษ (Gifted) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนวัดราชโอรส
3. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ กลุ่มนักเรียนของห้องเรียนพิเศษ (Gifted) จำนวน 37 คน
ตัวแปรที่ต้องศึกษา
ตัวแปรต้น คือ ศึกษาความพึงพอใจในการเรียนวิชาต่างๆของนักเรียนห้องเรียนพิเศษ (Gifted)
ตัวแปรตาม คือ ความชื่นชอบวิชาต่างๆของนักเรียนห้องเรียนพิเศษ (Gifted)
ตัวแปรควบคุม คือ แบบสอบถาม , จำนวนนักเรียน
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ผลการศึกษาวิจัยเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินการศึกษาต่อมัธยมศึกษาปีที่ 4 ของนักเรียนห้องเรียนพิเศษ (Gifted) คือ
1. รู้วิชาที่ตนเองชื่นชอบและต้องการที่จะศึกษาต่อ
2. รู้ข้อมูลรายวิชานั้นๆว่าเกี่ยวกับอะไร สำคัญอย่างไร
3. รู้การรับประทานอาหารที่บำรุงสมอง
4. รู้การทำกิจกรรมที่บำรุงสมอง
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ในการสำรวจความพึงพอใจครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และได้นำเสนอตามหัวข้อเรียงตามลำดับ ดังนี้
1. ความสำคัญ
2. วิชา คณิตศาสตร์
3. วิชา วิทยาศาสตร์
4. วิชา ภาษาไทย
5. วิชา สังคมศึกษา
6. วิชา ภาษาอังกฤษ
7. วิชา พลศึกษา
8. วิชา ศิลปะ
9. วิชา ประวัติศาสตร์
10. วิชา การงานอาชีพ
11. วิชา ดนตรีสากล
12. อาหารที่บำรุงสมอง
13. กิจกรรมที่บำรุงสมอง
ความสำคัญ
การศึกษามีความสำคัญต่อมนุษย์เป็นอย่างมาก คำกล่าวที่ว่าการศึกษาคือชีวิต และชีวิตคือการศึกษา คำกล่าวเช่นนี้ยังคงเป็นความจริงอยู่ตลอดไป ชีวิตมนุษย์ตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิในครรภ์มารดาเริ่มมีการศึกษาบ้างแล้ว การศึกษาของมนุษย์จะเริ่มอย่างจริงจังก็ต่อเมื่อชีวิตได้เริ่มลืมตาดูโลก และจะต้องศึกษาอยู่ตลอดไปจนกว่าชีวิตจะจากโลกนี้ไป การศึกษาจึงมีความสำคัญต่อบุคคล สังคม ประเทศชาติ และต่อโลกเป็นอย่างยิ่ง อาจจะกล่าวได้ว่า “ตราบใดที่โลกยังมีมนุษย์ไม่สิ้นสุดการศึกษาต้องอาศัย” เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะมนุษย์ที่อาศัยโลกอยู่จะต้องอาศัยกระบวนการทางการศึกษาสำหรับการพัฒนาตน เมื่อสมาชิกของสังคมได้รับการพัฒนาอย่างมีคุณภาพแล้ว สังคมและประเทศชาติรวมทั้งโลกด้วยก็จะได้รับการพัฒนาต่อไปด้วย
วิชา คณิตศาสตร์
ลักษณะสำคัญของวิชา คณิตศาสตร์
เมื่อมนุษย์เริ่มมีการสังเกตสิ่งต่างๆรอบตัว พวกเขาเกิดความสงสัยในสิ่งรอบตัวเขา ปรากฏการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น พวกเขาจึงพยายามหาเหตุผลที่จะอธิบายสิ่งเหล่านั้นอย่างเป็น ขั้นตอน และ เป็นระบบ จากนั้นพยายามสร้างสัญลักษณ์เพื่อทำให้คำอธิบายเป็นรูปธรรมและสื่อสารให้พวกเขาเข้าใจตรงกัน สิ่งเหล่านี้เป็นต้นกำเนิดของวิชา คณิตศาสตร์ ดังนั้นจึงสามารถสรุปลักษณะสำคัญของวิชา คณิตศาสตร์ ได้ดังนี้
1.วิชา คณิตศาสตร์ เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการใช้เหตุผล เราใช้ คณิตศาสตร์ พิสูจน์อย่างมีเหตุผลว่าสิ่งที่เราคิดขึ้นนั้น เป็นจริงหรือไม่ คณิตศาสตร์ ช่วยให้คนเป็นผู้มีเหตุผล เป็นคนใฝ่หาความรู้ ตลอดจนพยายามคิดค้นสิ่งที่แปลกและใหม่ ฉะนั้น คณิตศาสตร์ จึงเป็นพื้นฐานแห่งความเจริญของเทคโนโลยีด้านต่างๆ
2.วิชา คณิตศาสตร์ เป็นวิชาที่เกี่ยวกับความคิดของมนุษย์ มนุษย์สร้างสัญลักษณ์แทนความคิดนั้นๆ และสร้างกฎในการนำสัญลักษณ์มาใช้ เพื่อสื่อความหมายให้เข้าใจตรงกัน คณิตศาสตร์ จึงมีภาษาเฉพาะของตัวมันเอง เป็นภาษาที่กำหนดขึ้นด้วยสัญลักษณ์ที่รัดกุมและสื่อความหมายได้ถูกต้อง เป็นภาษาที่มีตัวอักษร ตัวเลข และสัญลักษณ์แบบความคิด เป็นภาษาที่ทุกชาติที่เรียน คณิตศาสตร์ จะเข้าใจตรงกัน เช่น a + 3 = 15 ทุกคนที่เข้าใจ คณิตศาสตร์ จะอ่านประโยคสัญลักษณ์นี้ได้และเข้าใจความหมายตรงกัน
3.คณิตศาสตร์ เป็นวิชาที่มีรูปแบบ เราจะเห็นว่าการคิดทาง คณิตศาสตร์ นั้นจะต้องมีแบบแผน มีรูปแบบไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดก็ตาม ทุกขั้นตอนจะตอบได้และจำแนกออกมาให้เห็นได้จริง
4.คณิตศาสตร์ เป็นวิชาที่มีโครงสร้าง คณิตศาสตร์ จะเริ่มต้นด้วยเรื่องง่ายก่อน เช่น เริ่มต้นด้วยการบวก การลบ การคูณ การหาร เรื่องง่ายๆ นี้จะเป็นพื้นฐานนำไปสู่เรื่องอื่นๆ ต่อไป เช่น เรื่องเศษส่วน ทศนิยม ร้อยละ เป็นต้น
5.คณิตศาสตร์ เป็นศิลปะอย่างหนึ่ง เช่น เดียวกับศิลปะอื่นๆ ความงามของ คณิตศาสตร์ ก็คือ ความมีระเบียบและความกลมกลืน นัก คณิตศาสตร์ ได้พยายามแสดงความคิด มีความคิดสร้างสรรค์ มีจินตนาการ มีความคิดริเริ่มที่จะแสดงความคิดใหม่ๆ และแสดงโครงสร้างใหม่ๆ ทาง คณิตศาสตร์ ออกมา
วิชา วิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์ หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆในธรรมชาติ และกระบวนการค้นคว้าหาความรู้อย่างเป็นระบบแลมีขั้นตอน
วิทยาศาสตร์ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ (pure science)
เป็นความรู้ทางวิทยาศาสตร์
ขั้นพื้นฐานที่ได้จากการค้นพบในธรรมชาติ ได้แก่ ข้อเท็จจริง หลักการ กฎ ทฤษฎี ได้แก่วิชาการต่างๆ เช่น ชีววิทยา ฟิสิกส์ เคมี ฯลฯ เราเรียกนักวิทยาศาสตร์ด้านนี้ว่า นักวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์ ในชีวิตประจำวันได้แก่ แพทย์ศาสตร์ เภสัชศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และคอมพิวเตอร์เป็นต้น
ตัวอย่างนักวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ที่มีชื่อเสียง เช่น
o อาร์คีเมเดส ผู้ค้นพบวิธีการหาปริมาตรของวัตถุโดยการแทนที่น้ำ
o เซอร์ ไอแซก นิวตัน ผู้ตั้งกฎของความโน้มถ่วง กฎการเคลื่อนที่ของวัตถุ ทฤษฎีเกี่ยวกับการหักเหของแสง
o ชาลส์ ดาร์วิน ผู้ตั้งทฤษฎีวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
o แอลเบริ์ต ไอน์สไตน์ ผู้ค้นพบทฤษฎีสัมพันธภาพของไอน์สไตน์
2. วิทยาศาสตร์ประยุกต์ (applied science) หรือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เป็นการนำความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ เพื่อให้เกิดประโยชน์และอำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิตของมนุษย์ เรียก
นักวิทยาศาสตร์ด้านนี้ว่านักวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ประกอบด้วย วิศวกร แพทย์ เภสัชกร เกษตรกร เป็นต้น ตัวอย่างนักวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์
ที่มีชื่อเสียง เช่น
o ทอมัส แอลวา เอดิสัน ผู้ประดิษฐ์หลอดไฟฟ้า
o ไมเคิล ฟาราเดย์ ผู้ประดิษฐ์เครื่องกำเนิดไฟฟ้า
o
o กาลิเลโอ กาลิเลอิ ผู้ประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์แบบหักเห
o
o หลุยส์ ปาสเตอร์ ผู้คิดทำเซรุ่มสำหรับฉีดแก้พิษงู และพิษสุนัขบ้า
o โจเซฟ ลิสเตอร์ ผู้ริเริ่มการใช้สารระงับเชื้อ
o มาร์เคเซ กูลีเอลโม มาร์โคนี ผู้ประดิษฐ์เครื่องรับส่งวิทยุโทรเลข
วิชา ภาษาไทย
ภาษาไทยเป็นภาษาที่ เก่าเเก่ที่สุดในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีรากฐานมาจากออสโตรไทย ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับภาษาจีน มีหลายคำที่ขอยืมมาจากภาษาจีน
พ่อขุนรามคำเเหงได้ประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเมื่อปี พศ 1826 (คศ1283) มี พยัญชนะ 44 ตัว (21 เสียง), สระ 21 รูป (32 เสียง), วรรณยุกต์ 5 เสียง คือ เสียง สามัญ เอก โท ตรี จัตวา ภาษาไทยดัดเเปลงมาจากบาลี เเละ สันสกฤต
คนไทยเป็นผู้ที่โชคดีที่มีภาษาของตนเอง เเละมีอักษรไทย เป็นตัวอักษร ประจำชาติ อันเป็นมรดกล้ำค่าที่บรรพบุรุษได้สร้างไว้ ซึ่งเป็นเครื่องเเสดงว่าไทยเราเป็นชาติที่มีวัฒนธรรมสูงส่งมาเเต่โบราณกาล เเละยั่งยืนมาจนปัจจุบัน คนไทยผู้เป็นเจ้าของภาษา ควรภาคภูมิใจที่ชาติไทยใช้ภาษาไทย เป็นภาษาประจำชาติมากว่า 700 ปีเเล้ว เเละจะยั่งยืนตลอดไป ถ้าทุกคนตระหนักในความสำคัญของภาษาไทย
ภาษาเป็นวัฒนธรรมที่สำคัญของชาติ ภาษาเป็นสื่อใช้ติดต่อกันเเละทำให้วัฒนธรรมอื่นๆเจริญขึ้น เเต่ละภาษามีระเบียบของตนเเล้วเเต่จะตกลงกันในหมู่ชนชาตินั้น ภาษาจึงเป็นศูนย์กลางยืดคนทั้งชาติ ดังข้อความ ตอนหนึ่งในพระราชนิพนธ์ในพระบาท สมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง "ความเป็นชาติโดยเเท้จริง" ว่า ภาษาเป็นเครื่องผูกพันมนุษย์ต่อมนุษย์เเน่นเเฟ้นกว่าสิ่งอื่น เเละไม่มีสิ่งใด ที่จะทำให้คนรู้สึกเป็นพวกเดียวกันหรือเเน่นอนยิ่งไปกว่าภาษาเดียวกัน รัฐบาลทั้งปวงย่อมรู้สึกในข้อนี้อยู่ดี เพราะฉะนั้น รัฐบาลใดที่ต้องปกครองคนต่างชาติต่างภาษา จึงต้องพยายามตั้งโรงเรียนเเละออกบัญญัติบังคับ ให้ชนต่างภาษาเรียนภาษาของผู้ปกครอง เเต่ความคิดเห็นเช่นนี้ จะสำเร็จตามปรารถนาของรัฐบาลเสมอก็หามิได้ เเต่ถ้ายังจัดการเเปลง ภาษาไม่สำเร็จอยู่ตราบใด ก็เเปลว่า ผู้พูดภาษากับผู้ปกครองนั้นยังไม่เชื่ออยู่ตราบนั้น เเละยังจะเรียกว่าเป็นชาติเดียวกันกับมหาชนพื้นเมืองไม่ได้ อยู่ตราบนั้น ภาษาเป็นสิ่งซึ่งฝังอยู่ในใจมนุษย์เเน่นเเฟ้นยิ่งกว่าสิ่งอื่น"
ดังนั้นภาษาก็เปรียบได้กับรั้วของชาติ ถ้าชนชาติใดรักษาภาษาของตนไว้ได้ดี ให้บริสุทธิ์ ก็จะได้ชื่อว่า รักษาความเป็นชาติ
คนไทยทุกคนใช้ภาษาไทยเป็นสื่อความรู้สึกนึกคิดเท่านั้นยังไม่เพียงพอ ควรจะรักษาระเบียบความงดงามของภาษา ซึ่งเเสดงวัฒนธรรม เเละ เอกลักษณ์ประจำชาติไว้อีกด้วย ดัง พระราชดำรัส สมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ตอนหนึ่งว่า
"ภาษานอกจากจะเป็นเครื่องสื่อสารเเสดงความ รู้สึกนึกคิดของคนทั่วโลก เเล้ว ยังเป็นเครื่องเเสดงให้เห็นวัฒนธรรม อารยธรรม เเละเอกลักษณ์ ประจำชาติอีกด้วย ไทยเป็นประเทศซึ่งมีขนบประเพณี ศิลปกรรมเเละภาษา ซึ่งเจริญรุ่งเรืองมาแต่อดีตกาล เราผู้เป็นอนุชนจึงควรภูมิใจ ช่วยกัน ผดุงรักษามรดกทางวัฒนธรรมอันเป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่บรรพบุรุษได้ อุตส่าห์สร้่างสรรค์ขึ้นไว้ให้เจริญสืบไป "
วิชา สังคมศึกษา
กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ คือ สาขาวิชาที่ใช้ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์เพื่อศึกษาโลกในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ หน่วยสังคมต่าง ๆ ของมนุษย์ รวมทั้งพฤติกรรมของมนุษย์ในแง่มุมต่าง ๆ วิชาในสังคมศาสตร์แตกต่างจากวิชาในกลุ่มมนุษยศาสตร์ เนื่องจากหลาย ๆ สาขาวิชาในสังคมศาสตร์เน้นการหาความรู้และความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการดำเนินพฤติกรรมของมนุษย์และปรากฏการณ์ทางสังคมด้วยกระบวนการแบบปฏิฐานและประจักษ์นิยม ทั้งเชิงปริมาณ (quantitative method) และเชิงคุณภาพ (qualitative method)อย่างเป็นวิทยาศาสตร์
บางสาขาก็อาจจะนำระเบียบวิธีเชิงคุณภาพแบบการตีความ การคาดการณ์ วิเคราห์ตามหลักปรัชญาและตรรกะ หรือความเชื่อส่วนบุคคล และการวิจารณ์มาใช้ในการอธิบายพฤติกรรมในบางกรณีที่เหมาะสมหากจำเป็น อย่างไรก็ตาม ระเบียบวิธีการศึกษาทางสังคมศาสตร์แบบใหม่ได้รับอิทธิพลจากสังคมศาสตร์แบบอเมริกันอย่างมาก ทำให้การศึกษาแบบปฏิฐานนิยมได้รับความนิยมและการยอมรับมากกว่าระเบียบวิธีแบบเก่าที่คล้ายคลึงกับสาขามนุษยศาสตร์
พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ (2529: 129) ทรงกล่าวถึงความหมายของสังคมศาสตร์และขอบเขตของการศึกษาวิชานี้ไว้ว่า สังคมศาสตร์เป็นวิชาที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตของมนุษย์ในทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ตามความเป็นจริง สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ 1.สังคมศาสตร์ล้วน ได้แก่สาขาวิชา รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สังคมวิทยา 2.กลุ่มวิชาที่มีส่วนเป็นสังคมศาสตร์ ได้แก่ ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ จิตวิทยา มานุษยวิทยา การสื่อสารศึกษา ประวัติศาสตร์ และ คติชนวิทยา สามารถจัดว่าเป็นทั้งสาขาวิชาในสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ การศึกษามานุษยวิทยาโดยใช้แนวทางเชิงนิเวศหรือเชิงชีววิทยานั้น จะเกี่ยวข้องอย่างมากกับวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ
วิชา ภาษาอังกฤษ
ทักษะการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ
การเรียนวิชาภาษาอังกฤษซึ่งเป็นวิชาทักษะนั้น นักศึกษาต้องใช้ความมานะพยายาม และความอดทน หลักการศึกษาวิชาภาษาอังกฤษให้ได้ผลนั้นไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว เพราะความสำเร็จในการเรียนวิชาภาษา ซึ่งเป็นวิชาทักษะนั้น อาศัยทั้งความเข้าใจและการฝึกฝนทบทวนบ่อย ๆ อยากทราบว่าตนเองยังมีพื้นฐานภาษาอังกฤษค่อนข้างน้อย ก็ควรที่จะเพิ่มพูนทักษะการใช้ภาษาอังกฤษให้มากขึ้น
ทักษะการฟัง มีพฤติกรรมการฟังอยู่ 5 ระดับ คือ
1. ขั้นรับรู้
ฝึกสังเกตความแตกต่างของภาษาเกี่ยวกับเสียง คำ การเน้น และระดับเสียงขึ้น-ลงของข้อความ
2. ขั้นระลึก
สามารถที่จะเข้าใจความหมายของข้อความสั้น ๆ ที่ได้ยิน
3. ขั้นรับความคิด
สามารถที่จะเข้าใจสัญลักษณ์ทางไวยากรณ์ คำศัพท์ ประโยคและบทความสั้น ๆ
4. ขั้นเข้าใจ
สามารถเข้าใจคำอธิบาย รู้จักจับความของข้อความที่ได้ยิน แม้ว่าจะมีคำที่ไม่รู้ความหมายอยู่ด้วยก็ตามสามารถฟัง และเข้าใจข้อความที่ผู้พูดพูดออกมาอย่างรวดเร็วได้
5. ขั้นวิเคราะห์
สามารถแยกแยะได้ว่าข้อความที่ได้ยินว่า เป็นภาษามาตรฐานหรือไม่ รูปประโยคถูกต้องหรือไม่ เข้าใจอารมณ์ ความรู้สึก และความมุ่งหมายของผู้พูดจากน้ำเสียง และถ้อยคำที่เน้น สามารถประเมินได้ว่าถ้อยคำที่เน้นนั้นสื่อสารความคิดได้อย่างเหมาะสมหรือไม่
วิชา พลศึกษา
ความหมายพลศึกษา พลศึกษาเป็น “ศาสตร์’’แขนงหนึ่งที่อยู่บนรากฐานทางวิทยาศาสตร์ และมีความเกี่ยวข้องกับ ศาสตร์แขนงอื่นๆอีกหลายแขนง พลศึกษา มาจากคำว่า“พละ”และ“ศึกษา”พละ แปลว่า กำลัง ส่วนคำว่า ศึกษา แปลว่า การเล่าเรียน เมื่อนำคำทั้งสองคำนี้มารวมกันเป็นคำสมาสสระอะลดรูป รวมเป็น“พลศึกษา”แปลตามรูปศัพท์ว่า การศึกษาเล่าเรียนในการบำรุง ร่างกายโดยการออกกำลังกาย และจากความหมายดังกล่าว ได้มีนักพลศึกษาทั้งของไทยและต่างประเทศได้ให้ความหมายของคำว่า พลศึกษาไว้อย่างกว้างขวาง ดังต่อไปนี้คือ เจย์ บี แนช (Jay B. Nash) พลศึกษาเป็นการศึกษาแขนงหนึ่งในกระบวนการศึกษาทั้งหมด เป็นการศึกษาที่ใช้กิจกรรมเป็นสื่อ เพื่อให้เกิดพัฒนาการทางกาย ทางประสาท ทางสติปัญญา ทางอารมณ์ ผลเหล่านี้จะประจักษ์ก็ต่อเมื่อได้มีการจัดกิจกรรมพลศึกษาขึ้นตามสถานที่ต่างๆเช่น สนามกีฬา โรงฝึกพลศึกษา และสระว่ายน้ำ เป็นต้น เอชเธอริงตัน (Hetherington) พลศึกษาหมายถึง สิ่งสำคัญสองประการ คือ เป็นกิจกรรมที่ใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ให้เป็นประโยชน์ต่อร่างกายประการหนึ่ง อีกประการหนึ่งเป็นกระบวนการศึกษาที่ช่วยให้เด็กเจริญเติบโต มีสุขภาพดี ซึ่งจะช่วยให้เขาสามารถเรียนได้โดยไม่มีอุปสรรคต่อการเจริญเติบโตแต่อย่างใด กอง วิสุทธารมณ์ พลศึกษา คือ การฝึกฝนร่างกายให้มีสมรรถภาพดีขึ้นโดยใช้กิจกรรมบางอย่างเป็นเครื่องมือประกอบการศึกษา ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีร่างกายเจริญงอกงาม เติบโต แข็งแรง และว่องไว อบรมให้เป็นผู้ที่มีระเบียบ วินัย หนักแน่น อดทน รู้แพ้ รู้ชนะ สร้างสรรค์สามัคคี
วรศักดิ์ เพียรชอบ พลศึกษา คือ การศึกษาแขนงหนึ่ง ซึ่งมีวัตถุประสงค์และความมุ่งหมายเช่นเดียวกับการศึกษาแขนงอื่นๆ คือ ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม จะต่างจากวิชาอื่นตรงที่วิธีการและสิ่งที่นำมาใช้ คือ พลศึกษาใช้กิจกรรมการออกกำลัง หรือการเล่นกีฬาเป็นสื่อในการเรียนโดยใช้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมพลศึกษาให้มากที่สุด จรินทร์ ธานีรัตน์ กล่าวว่า การพลศึกษาคือ การศึกษาแขนงหนึ่งที่ใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหวทางกาย (ที่ใช้กล้ามเนื้อใหญ่) เป็นสื่อกลาง (Medium)เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกาย (รูปร่าง) ทางจิตใจ ทางอารมณ์ ทางสังคม และพัฒนาการทางด้านคุณธรรม ตลอดจนการเป็นพลเมืองดีด้วย สุวิมล ตั้งสัจพจน์ ได้กล่าวถึง พลศึกษาเริ่มขึ้นสมัยกรีกโบราณ ชาวเอเธน และสปาตาร์เป็นกลุ่มคนที่สนใจต่อการออกกำลังกายมาก เขาเรียกกิจกรรมการเรียนการสอนและการปฏิบัติในสถานกายบริหาร ซึ่งเป็นจุถดเริ่มต้นของพลศึกษาที่ขณะนั้นเรียกว่า“ยิมนาสติก”(Gymnastics) ต่อมาในศตวรรษที่ 17ความสนใจการออกกำลังกายมาเน้นที่การพัฒนาร่างกายมากขึ้นทำให้คำว่า“Gymnastics” เปลี่ยนมาเป็น “Physical Activity”ซึ่งหมายรวมถึงกิจกรรมทางร่างกาย
วิชา ศิลปะ
ศิลปะ (ART)
ศิลปะเป็นคำที่มีความหมายทั้งกว้างและจำเพาะเจาะจง ทั้งนี้ย่อมแล้วแต่ทัศนะของแต่ละคน แต่ละสมัยที่จะกำหนดแนวความคิดของศิลปะให้แตกต่างกันออกไป หรือแล้วแต่ว่าจะมีใคร นำคำว่า "ศิลปะ" นี้ไปใช้ในแวดวงที่กว้างหรือจำกัด อย่างไร
ศิลปะคือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ในสมัยโบราณ นักปราชญ์ได้ให้ความหมายของศิลปะ (Art) ไว้ว่า ศิลปะ คือ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นไม่ได้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เพราะฉะนั้น ต้นไม้ ภูเขา ทะเล น้ำตก ความงดงามต่าง ๆตามธรรมชาติจึงไม่เป็นศิลปะ ดอกไม้ที่เห็นว่าสวยสดงดงามนักหนา ก็ไม่ได้เป็นศิลปะเลย ถ้าหากเรายึดถือตามความหมายนี้แล้ว สิ่งที่มนุษย์สร้างสร้างขึ้นทั้งหลาย ก็ล้วนแล้วแต่เป็นศิลปะทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น ภาพวาด ภาพพิมพ์ งานปั้น งานแกะสลัก เสื้อผ้าอาภรณ์ เครื่องประดับที่อยู่อาศัย ยานพาหนะ เครื่องใช้สอย ตลอดจนถึงอาวุธที่ใช้รบราฆ่าฟันกัน ก็ล้วนแต่เป็นศิลปะทั้งสิ้นไม่ว่ามนุษย์สร้างสิ่งที่ดีงาม เลิศหรูอลังการ หรือน่าเกลียดน่าชังอย่างไรก็ตาม ล้วนแต่เป็นงานศิลปะอย่างนั้นหรือไม่
ศิลปะเป็นงานสร้างสรรค์
ในสมัยต่อมา มีผู้ให้ความหมายของศิลปะว่า ศิลปะเป็นผลงานการสร้างสรรค์ ซึ่งในความหมาย นี้ เราต้องมาตีความหมายของคำว่า "การสร้างสรรค์" กันเสียก่อน การสร้างสรรค์ หรือที่ภาษา อังกฤษเรียกว่า "Cerative" นั้น คือ การทำให้เกิดบางสิ่งบางอย่างขึ้นมา ซึ่งบางสิ่งบางอย่างนั้น ไม่เคยมีอยู่มาก่อน ทั้งที่เป็นผลิตผล หรือกระบวนการ หรือความคิด ดังนั้น สิ่งที่จะเป็นงานสร้าง สรรค์ได้จะต้องเป็นประดิษฐ์กรรมใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อนในโลก หรือเป็นกระบวนการใหม่ ๆ ที่ สร้างขึ้นมาเพื่อกระทำการบางสิ่งบางอย่างให้ประสบผลสำเร็จ หรือเป็นการสร้างแนวคิดใหม่ ที่จะนำไปสู่วิธีการใหม่ ๆ แนวคิดใหม่ ๆ นี้เองที่เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างสรรค์ เพราะแนวคิด ใหม่ จะนำไปสู่การพัฒนากระบวนการ หรือวิธีการใหม่ ๆ ที่จะนำไปสู่ผลผลิตหรือประดิษฐ์กรรม ใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นมาในโลก และตอบสนองความต้องการในด้านต่าง ๆ ของมนุษย์ได้ เพื่อแทนที่ ผลผลิต หรือประดิษฐ์กรรมเดิม ที่ตอบสนองได้ไม่พอเพียง หรือไม่เป็นที่พอใจ การสร้างสรรค์ใน อีกความหมายหนึ่งจึงเกิดขึ้น คือ เป็นการทำให้ดีขึ้นกว่าเดิม ซึ่งมีหลาย ๆ วิธี โดยอาจเป็นการปรับ ปรุงกระบวนการใหม่ ให้ได้ผลผลิตมากกว่าเดิม หรือเป็นการปรับปรุงรูปแบบผลผลิตใหม่ โดยใช้ วิธีการเดิม แต่ผลผลิตมีคุณภาพมากขึ้น แต่ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใด ๆ ก็ตาม เป็นการกระทำให้เกิดขึ้น จากการใช้แนวคิดแบบใหม่ ๆ ทั้งสิ้น และเป็นผลของวิธีการคิดที่เรียกว่า "ความคิดสร้างสรรค์"
วิชา ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์ (History) คือ วิชาที่ศึกษาถึงเรื่องราวในอดีตของมนุษยชาติ ที่มีความสำคัญ ในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือสมัยใดสมัยหนึ่ง ซึ่งจะต้องอธิบายเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นนั้นได้อย่างมีเหตุผล และถูกต้องตามความเป็นจริง โดยผ่านกระบวนการไต่สวน ค้นคว้า พิจารณา วิเคราะห์อย่างละเอียดถี่ถ้วนและไม่มีอคติ (unbias)
ในประเทศไทย เริ่มใช้คำว่า “ประวัติศาสตร์” ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวใน พ.ศ. ๒๔๕๙ เนื่องจาก คำว่า “ตำนาน” (Legend) ที่ใช้กันมาแต่เดิมนั้นมักจะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติของท้องถิ่นหรือบุคคลในท้องถิ่นซึ่งมี ลักษณะที่แต่งเติมเกินกว่าความเป็นจริง และคำว่า “พงศาวดาร” (Choronicle) ซึ่งจะจำกัดอยู่เฉพาะเรื่องราวของสถาบันพระมหากษัตริย์ มิได้ครอบคลุมการศึกษาเรื่องราวในอดีตอย่างแท้จริง
คำว่า “ประวัติศาสตร์” มีความหมายมาจาก “History” ในภาษาอังกฤษ ซึ่งมาจากคำว่า ἱστορία - historia ในภาษากรีก ที่มีความหมายถึงการค้นคว้า การไต่สวน เพื่อเข้าใจความเป็นมาของมนุษยชาติ การค้นคว้าเหล่านี้จะกระทำโดยอาศัยเอกสาร หรือหลักฐานที่หลงเหลืออยู่ ทำให้เข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์ในอดีต ตลอดจนกำเนิดของโลก และสิ่งอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ ซึ่ง เฮโรโดตุส (Herodotus, 484-425 ก่อนคริสตกาล) บิดาของวิชาประวัติศาสตร์แห่งโลกตะวันตก เป็นผู้ใช้วิธีการศึกษาแบบนี้เป็นคนแรก จากนั้น เลโอโปล ฟอน รันเก (Ranke) ได้นำเอาวิธีการนี้ไปพัฒนาเป็น วิธีการทางประวัติศาสตร์ (Historical method) เพื่อการศึกษาที่เป็นระบบยิ่งขึ้น สำหรับบิดาของประวัติศาสตร์ในโลกตะวันออกโดยเน้นที่จีนคือ ซือหม่าเชียน ผู้เขียน “สื่อจี้” หรือบันทึกประวัติศาสตร์ซึ่งเป็นเรื่องราวตั้งแต่จีนโบราณจนถึงรัชสมัยจักรพรรดิฮั่นอู่ตี้ แห่งราชวงศ์ฮั่น
วิชา การงานอาชีพ
การพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาให้เป็นคนที่สมบูรณ์และ
สมดุลทั้งด้านจิตใจ ร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม โดยมุ่งเน้นการพัฒนาให้ผู้เรียน
มีความรู้ ความสามารถ ทั้งด้านวิชาการ วิชางาน และวิชาชีวิต เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ใน
สังคมได้อย่างมีความสุข พึ่งตนเองได้ อยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ พัฒนาสังคมและ
สิ่งแวดล้อม
สาระการเรียนรู้กลุ่มการงานอาชีพและเทคโนโลยี เป็นกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนา
ผู้เรียน ให้มีทักษะในการทำงาน ทำงานเป็น รักการทำงาน ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ มีความ
สามารถในการจักการ การวางแผนออกแบบการทำงาน สามารถนำเอาความรู้เทคโนโลยี
และเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ และประยุกต์ใช้ในการทำงาน สร้าง พัฒนางาน ผลิตภัณฑ์
ตลอดจนวิธีการใหม่เพื่อพัฒนาคุณภาพของงาน และการทำงาน
กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี เป็นกลุ่มสาระที่ช่วยพัฒนาให้ผู้เรียนมีความรู้
ความเข้าใจ มีทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต และรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง
สามารถนำความรู้เกี่ยวกับการดำรงชีวิต การอาชีพ และเทคโนโลยี มาประยุกต์ใช้ในการ
ทำงานอย่างมีความคิดสร้างสรรค์และแข่งขันในสังคมไทยและสากล เห็นแนวทางในการ
ประกอบอาชีพ รักการทำงาน และมีเจตคติที่ดีต่อการทำงาน สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคม
ได้อย่างพอเพียงและมีความสุข
วิชา ดนตรีสากล
หลักสูตรศิลปกรรมศาสตร์ สาขาวิชาดนตรี มุ่งเน้นให้บัณฑิตมีความรู้และความเข้าใจในวิชาชีพทางดนตรีอย่างแท้จริง โดยส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติจริง และร่วมกิจกรรมของวงการศิลปินทั้งภายในและภายนอกสถาบัน เพื่อให้เกิดความชานาญในศาสตร์ต่างๆ และมีความพร้อมที่จะเข้าสู่วงการธุรกิจบันเทิง ธุรกิจดนตรี ได้ทันทีหลังจบการศึกษา
มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถรอบด้าน เพื่อพร้อมที่จะก้าวไปเป็นศิลปินนักร้องและนักดนตรีที่มีคุณภาพและสามารถบริหารจัดการอาชีพของตนเองได้ โดยผู้เรียนจะได้เรียนเพื่อพัฒนาทักษะการขับร้องหรือการเล่นเครื่องดนตรี และมีการแสดงทั้งรูปแบบร้องเพลงเดี่ยวและแสดงเป็นวงทุกเทอม เรียนรู้การออกแบบภาพลักษณ์ศิลปินและการประพฤติตนให้เหมาะสมเพื่อให้ประสบความสาเร็จในวงการ การแต่งเพลงและผลิตผลงานเพลงด้วยตนเอง การเข้าใจธุรกิจวงการเพลงและกฎหมายลิขสิทธิ์ต่างๆ การทาสัญญาของค่ายเพลงแบบต่างๆ การทาการตลาดเพื่อประชาสัมพันธ์ผลงานของตนเองผ่านสื่อต่างๆ ไปจนถึงการบริหารจัดการการจัดคอนเสิร์ต และจัดจาหน่ายผลงานเพลงทั้งแบบแผ่นและแบบดิจิตอล นอกจากนี้นักศึกษาจะได้เตรียมตนเองให้พร้อมรับกับสังคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยมีเรียนวิชาเกี่ยวกับเศรษฐกิจนานาชาติ เรียนภาษาอังกฤษ และเลือกเรียนภาษาต่างประเทศที่สอง เช่น ภาษาเกาหลี ญี่ปุ่น จีน มาเลเชีย พม่า อินโดนีเซีย และฝึกงานกับองค์กรในวงการบันเทิงในปีสุดท้ายก่อนจบการศึกษา
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสาเร็จการศึกษา
ศิลปินนักดนตรี ศิลปินนักร้อง โปรดิวเซอร์ ผู้กากับการแสดงดนตรี นักแสดง นักประพันธ์ดนตรี นักเรียบเรียงเสียงประสานดนตรี ผู้ควบคุมห้องบันทึกเสียง ผู้ควบคุมการผสมเสียง ผู้ควบคุมการมาสเตอร์ริง ผู้ผลิตสื่อทางดนตรี ครูสอนดนตรี และอาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น นักธุรกิจในวงการบันเทิง นักการตลาดในวงการธุรกิจบันเทิง ผู้จัดการด้านการแสดงและดนตรี ผู้จัดสถานศึกษาด้านดนตรีและการแสดง และนักวิชาการ
อาหารที่บำรุงสมอง
สมองเป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย หากสมองได้รับการดูแลรักษาที่ดีย่อมเป็นผลดีต่อสุขภาพของคนๆนั้น เรื่องอาหารการกินเป็นปัจจัยหนึ่งทีมีผลต่อการทำงานของสมอง การรู้จักเลือกกินอาหารที่มีสารอาหารช่วยบำรุงสมองจะทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารบำรุงสมองแล้วนำไปใช้ในการซ่อมแซมหรือทำให้การทำงานและสุขภาพของสมองเจริญเติบโตแข็งแรงสามารถทำงานตามหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สารอาหารบำรุงสมองที่ได้จากอาหารบำรุงสมองที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมีหลายชนิด แต่สารอาหารบำรุงสมองที่คนส่วนมากจะรู้จักกันดีคือ โอเมก้า-3 (Omega-3) ที่มีอยู่ในปลาทะเลน้ำลึก นอกจากโอเมก้า-3 แล้วยังมีสารอาหารที่มีคุณสมบัติในการบำรุงสมองชนิดอื่นๆ อีกหลายชนิด
โคลีน ได้จากอาหารบำรุงสมองจำพวกข้าวกล้อง
ข้าวโพด ผักใบเขียวต่างๆ โดยโคลีนจะมีมากในส่วนที่เป็นจมูกข้าวโพด ดังนั้นการนำข้าวโพดมาทำอาหารเพื่อให้ได้สารอาหารโคลีนจึงต้องใช้มีดคมฝานให้ลึกถึงซังข้าวโพด อาการที่ร่างกายขาดโคลีนคือ ปัญหาทางด้านความจำ หลงลืม เศร้าหมอง ขาดสมาธิและจิตใจหดหู่
แมงกานีส เป็นเกลือแร่ช่วยควบคุมดูแลสุขภาพของสมองและระบบประสาท อาหารบำรุงสมองที่มีแมงกานีสมากได้แก่ อาหารทะเล ตับหมู ผักใบเขียวเข้ม นอกจากนี้ผลไม้ที่มีสารอาหารแมงกานีสได้แก่ แอปเปิ้ล มะม่วง เป็นต้น
วิตามินบี เป็นสารอาหารที่มีความจำเป็นในการทำงานของระบบประสาทและสมอง ซึ่งแยกออกได้หลายชนิดดังนี้ วิตามินบี 1 ช่วยสร้างเซลล์ประสาทให้แข็งแรง มีอยู่ในอาหารบำรุงสมองจำพวกเมล็ดธัญพืชหรืออาหารที่ปรุงจากเมล็ดข้าวเช่น ขนมปัง พาสต้า ฯลฯ วิตามินบี 5 ช่วยในการสร้างโคเอ็นไซม์ที่ใช้ถ่ายทอดสัญญาณประสาทมีมากในอาหารบำรุงสมองประเภทเนื้อวัว ไก่ ปลา สัตว์ปีกและเมล็ดพืชที่เป็นฝักเช่น กระถิน ถั่ว ฯลฯ วิตามินบี 6 เป็นสารอาหารที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์และความนึกคิดของคน พบได้ในอาหารจำพวก เครื่องในสัตว์ ปลาและเมล็ดถั่วที่เป็นฝัก วิตามินบี 12 เป็นสารอาหารที่ช่วยสร้างความสมบูรณ์ให้เซลล์เม็ดเลือดแดง บำรุงรักษาเนื้อเยื่อประสาท พบในอาหารจำพวก ไข่ นม ปลา และผลิตภัณฑ์จากนมต่าง ๆ
กรดโฟลิค เป็นสารอาหารที่จำเป็นสำหรับผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ พบมากในอาหารจำพวก กล้วย ส้ม มะนาว ผักใบเขียว ถั่วเหลืองและธัญพืชต่างๆ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของสมองกรดโฟลิคเป็นสารอาหารสำคัญต่อระบบการเผาผลาญกรดไขมันโมเลกุลยาวในสมอง
แมกนีเซียม โปแตสเซียมและแคลเซียม ล้วนเป็นสารอาหารที่มีผลต่อการทำงานของระบบประสาท มักจะพบมากในอาหารบำรุงสมองจำพวกผักใบเขียวเข้ม ผลไม้และธัญพืชต่างๆ นอกจากนี้การกินผักและผลไม้จะทำให้ร่างกายได้รับสารต้านอนุมูลอิสระ(Antioxidant) ที่มีประโยชน์ในเรื่องชะลอการเสื่อมของสมองที่อายุมากขึ้นและช่วยป้องกันไม่ให้สมองถูกทำลายจากอนุมูลอิสระ
นอกจากการรู้จักเลือกกินอาหารบำรุงสมองเพื่อให้ได้สารอาหารที่มีความสำคัญต่อร่างกายแล้ว สิ่งที่ต้องทำควบคู่ไปด้วยคือการมีพฤติกรรมการบริโภคที่ดีได้แก่ การไม่งดอาหารเช้า รับประทานอาหารให้ตรงเวลา หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและฝึกการใช้สมอง(ความคิด)ด้วยกิจกรรมฝึกสมอง สิ่งเหล่านี้จะช่วยบำรุงรักษาและชะลอการเสื่อมของสมองอย่างได้ผลดีกว่าการใช้อาหารบำรุงสมองเพียงอย่างเดียว
กิจกรรมที่บำรุงสมอง
เที่ยวพิพิธภัณฑ์ โดยให้จดจ่ออยู่กับสิ่งที่จัดแสดงอยู่ วิธีนี้จะเป็นการฝึกด้านความจำของสมองในระดับต่างๆไม่ว่าจะเป็นการมองเห็น การจดจำ และการคิด นอกจากช่วยพัฒนาสมองแล้วยังช่วยป้องกันการเสื่อมของเซลล์สมองด้วย
เล่นลูกบอล การขว้างและรับลูกบอลใบใหญ่จาก 1 ลูกเพิ่มเป็น 2 ลูก จะทำให้สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวและการรับสิ่งของได้ดีขึ้น ช่วยสมองให้พัฒนาในด้านการมองเห็น ระบบประสาท และการทำงานประสานกันระหว่างมือและสายตา
ลดเสียงโทรทัศน์ลง การฟังอย่างตั้งใจจะช่วยทำให้ช่วยฝึกสมองในเรื่องการจับใจความสำคัญของสิ่งที่ได้ยินได้ฟังได้อย่างรวดเร็ว
ฝึกใช้มือข้างที่ไม่ถนัด เริ่มด้วยการแปรงฟัน และเริ่มกิจกรรมที่มีความซับซ้อนมากขึ้น เช่น การใช้ช้อนตักข้าว เป็นต้น ฝึกกิจกรรมเหล่านี้บ่อยๆ จะช่วยทำให้เซลล์ประสาทหลายล้านเซลล์ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
หัดเล่นเครื่องเล่นใหม่ๆ การฟัง การควบคุมการเคลื่อนไหวอย่างมีสติ การแปลความโน้ตดนตรีต่างๆ ช่วยทำให้การทำงานของสมองหลายด้านได้สัมพันธ์กัน
จดจำเนื้อเพลง เลือกเพลงที่ชอบและดูเนื้อเพลงไปด้วย รอบแรกฟังโดยไม่จำเนื้อเพลง รอบสองเขียนเนื้อเพลงและร้องตามไปด้วย การฟังอย่างตั้งอกตั้งใจจะช่วยเพิ่มศักยภาพในด้านความเข้าใจ ความคิด และความจดจำให้ดีขึ้น
ฝึกโฟกัสสายตา ลองนั่งจ้องตรงไปข้างหน้าโดยไม่กลอกตา มุ่งความสนใจไปที่สิ่งที่เราเห็น มองทุกสิ่งรอบๆ อาจจดบันทึกก็ได้ว่าเห็นอะไรบ้าง วิธีนี้จะช่วยสมองในเรื่องความจำและโฟกัสของสายตาให้ดีขึ้น
ทำกิจกรรมเงียบๆ คนเดียว เช่น การเล่นเกมปริศนาอักษรไขว้ การถักนิตติ้ง เป็นต้น การจดจ่ออยู่กับกิจกรรมจะช่วยพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของสมองให้ดีขึ้น
บทที่ 3
วิธีดำเนินงานโครงงาน
ในการดำเนินการสำรวจ ความพึงพอใจในการเรียนวิชาต่างๆของนักเรียนห้องเรียนพิเศษ (Gifted)
ผูสำรวจโครงงานดําเนินการตามลําดับ ดังนี้
1. ประชากรกลุมตัวอยาง
2. เครื่องมือที่ใชในการวิจัย
3. การเก็บรวบรวมขอมูล
1. ประชากรกลุมตัวอยาง
ประชากรที่ใชในการศึกษาวิจัย ความพึงพอใจในการเรียนวิชาต่างๆของนักเรียนห้องเรียนพิเศษ (Gifted) คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดราชโอรสในห้องเรียนพิเศษ (Gifted)
โดยเลือกตัวแทนนักเรียน จํานวน 15 คน
2. เครื่องมือที่ใชในการวิจัย
เครื่องมือที่ใชในการศึกษาวิจัยเปนแบบสอบถาม เรื่อง ความพึงพอใจในการเรียนวิชาต่างๆของนักเรียนแต่ละคนในห้องเรียนพิเศษ (Gifted) แบงออกเปน 2 สวน คือ
สวนที่ 1 แบบสอบถามขอมูลเบื้องตนของผูตอบแบบสอบถาม จําแนกตาม เพศ
สวนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับรายวิชาที่นักเรียนพึงพอใจ
ส่วนที่ 3 เกณฑการใหคะแนน มีคําตอบ ใหเลือก 4 ระดับ ดังนี้
4 คะแนน หมายถึง มากที่สุด
3 คะแนน หมายถึง มาก
2 คะแนน หมายถึง ปานกลาง
1 คะแนน หมายถึง นอย
0 คะแนน หมายถึง นอยที่สุด
3. การเก็บรวบรวมขอมูล
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ใชแบบสอบถาม ความพึงพอใจในการเรียนวิชาต่างๆของนักเรียนแต่ละคนในห้องเรียนพิเศษ (Gifted) โดยให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตอบแบบสอบถาม โดยเก็บรวบรวมขอมูลในชวงเดือน กันยายน 2557
บทที่ 4
ผลการดำเนินงาน
การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นรากฐานในการศึกษาต่อในมัธยมศึกษาปีที่ 4 และในมหาวิทยาลัย เรื่อง สำรวจความพึงพอใจในการเรียนวิชาต่างๆของนักเรียนห้องเรียนพิเศษ(Gifted) นับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญในการเลือกเรียนสายวิชาที่ตนถนัดและอยากเรียนมากที่สุด ผู้วิจัยจึงขอเสนอผลการวิจัย คือ นักเรียนพึงพอใจวิชาสังคมศึกษามากที่สุด รองลงมา คือ วิชาคณิตศาสตร์ และ วิทยาศาสตร์ ตามด้วย วิชาภาษาไทย,พลศึกษา,ประวัติศาสตร์ และ ดนตรีสากล สุดท้ายคือ ศิลปะ และ การงานอาชีพ ตามลำดับ
บทที่ 5
สรุปผลการดำเนินงาน และข้อเสนอแนะ
การจัดทำโครงงานสำรวจความพึงพอใจในการเรียนวิชาต่างๆของนักเรียนห้องเรียนพิเศษ (Gifted) นี้ สามารถสรุปผลการดำเนินงาน และข้อเสนอแนะ ดังนี้
สรุปผลการดำเนินงาน
ในการเรียนการสอนของนักเรียนห้องเรียนพิเศษ (Gifted) มีนักเรียนพึงพอใจวิชาสังคมศึกษามากที่สุด รองลงมา คือ วิชาคณิตศาสตร์ และ วิทยาศาสตร์ ตามด้วย วิชาภาษาไทย,พลศึกษา,ประวัติศาสตร์ และ ดนตรีสากล สุดท้ายคือ ศิลปะ และ การงานอาชีพ ตามลำดับ
ข้อเสนอแนะ
การทำโครงงานสำรวจนี้ ผู้ทำแบบสอบถามควรตอบคำถามด้วยความสัตย์จริง มิฉะนั้นจะทำให้ข้อมูลคลาดเคลื่อนได้
บรรณานุกรม
บทที่ 4 ผลการดำเนินโครงงาน. (ม.ป.ป.). เข้าถึงได้จาก: http://www.slideshare.net/.
(วันที่ค้นข้อมูล: 15 สิงหาคม 2557)
บทที่ 3 วิธีดำเนินงานโครงงาน. (ม.ป.ป.). เข้าถึงได้จาก: http://www.slideshare.net/.
(วันที่ค้นข้อมูล: 15 สิงหาคม 2557)
ตัวอย่างรายงานโครงงานฉบับเต็ม. (ม.ป.ป.). เข้าถึงได้จาก: http://www.thaigoodview.com.
(วันที่ค้นข้อมูล: 15 สิงหาคม 2557)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)